วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

อันดับ 10 เมืองทาลลินน์ (Tallinn) ประเทศเอสโตเนีย

               เมืองหลวงเล็กๆ ที่มีสีสันสดใสแห่งนี้มีพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้ คนที่นี้เปรียบอากาศบริสุทธิ์ยามเช้ากับแปรงสีฟันอย่างดี ที่ช่วยให้เขารู้สึกสะอาดเอี่ยมอ่องทุกครั้งเมื่อสูดหายใจเข้าไป อย่างไรก็ตาม แม้อากาศจะดีเพียงใด ชาวเมืองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงพยายามใช้แต่พลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น…(แน่นอน ว่าเขาคงอยากมีอากาศดีๆ ไว้หายใจนานๆ ไง!)
tallinn estonia
tallinn estonia
Estonia, Tallinn
Estonia, Tallinn

อันดับ 9 เมืองซูริก (Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

               เมืองนี้ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่ระบบการเดินทางสัญจรที่สะดวกสบายเท่านั้น แต่ที่ซูริกยังมีระบบการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ทันสมัยมากๆ โดยทางการจะนำเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศติดไว้กับรถประจำทางที่ออกท่องตาม ถนนในหลายพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลาของวัน และรายงานผลตรงไปยังอุปกรณ์มือถือของคนในเมืองทันที ที่เขายอมลงทุนทำขนาดนี้ก็เพื่อคนของเขาจะได้เลือกออกมาสูดอากาศในช่วงที่ มลพิษน้อยที่สุดไง…(บริการเขาดีจริงๆ นะ…ว่าไหม?)
zurich switzerland
zurich switzerland
zurich switzerland
zurich switzerland
zurich switzerland
zurich switzerland

อันดับ 8 กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน

               ใครที่เคยไปเที่ยวสตอกโฮล์มคงต้องประทับใจกับบ้านเมืองที่สะอาดสะอ้านและ อากาศที่สดชื่นแน่นอน แต่ทราบหรือไม่ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวเมืองที่นี่ใช้รถยนต์ระบบไฮบริดมากที่สุดในยุโรป
นอก จากนี้เมืองนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องระเบียบการจัดการระบบการขนส่งที่เข้มงวด มากๆ ตั้งแต่การเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ราว 2 ยูโรจากรถยนต์ที่ขับเข้าเมืองในช่วงเวลาที่มีการจราจรหนาแน่น ทั้งยังมีการจำกัดเวลาจอดรถพร้อมกับเก็บค่าจอดแพงๆ อีกด้วย เพื่อกันไม่ให้คนนำรถมาจอดเยอะเกินไป!…(เอามาใช้ในเมืองไทยบ้างจะดีไหมนะ !)
stockholm sweden
stockholm sweden
stockholm sweden
stockholm sweden
stockholm sweden
stockholm sweden

อันดับ 7 กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศฟินแลนด์

               น่าแปลกที่เมืองหลวงแห่งนี้มีมลพิษที่เกิดจากรถยนต์น้อยมาก ไม่ถึงครึ่งของมลพิษทั้งหมดในอากาศ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการออกแบบถนนให้กว้างมากเป็นพิเศษ ทำให้การจราจรไม่ติดขัด และประชาชนก็ยังทำตามคำแนะนำของรัฐบาล โดยการร่วมด้วยช่วยกันหันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนทันทีที่ทราบว่า คุณภาพอากาศในเมืองเริ่มย่ำแย่แล้ว
helsinki finland
helsinki finland

อันดับ 6 เมืองออตตาวา (Ottawa) รัฐออนแทรีโอ (Ontario) ประเทศแคนาดา

               นอกจากจะเป็นเมืองหลวงของประเทศแคนาดาแล้ว ออตตาวาก็ยังขึ้นชื่อเรื่อง “ลานสเกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก” โดยลานสเกตที่ว่านี้เกิดจากน้ำในคลองริโด (Rideau Canal) ขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านใจกลางเมืองแปรสภาพกลายเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งสายในช่วงฤดู หนาว ชวนเชิญให้ผู้คนหยิบรองเท้าสเกตมาสวมใส่เพื่อเที่ยวชมเมือง สนุกไปอีกแบบ
ottawa canada
ottawa canada
               สิ่งสำคัญที่ทำให้ออตตาวาเป็นเมืองที่อากาศดีติดอันดับน่าจะมาจากโปรเจ็กต์ รณรงค์รักษาความสะอาดที่ทางการจัดให้มีขึ้นทุกปีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และได้จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 20 แล้ว โดยในปีก่อนหน้านี้ผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 60,000 คน ต่างร่วมมือร่วมใจกันทำความสะอาดสวนสาธารณะ ท้องถนน และพื้นที่ส่วนรวมในเขตเมือง…(เห็นอย่างนี้แล้วอยากให้คนในบ้านเราร่วมมือ กันทำอะไรดีๆ อย่างนี้บ้างจัง!)
ottawa canada
ottawa canada
ottawa canada
ottawa canada

อันดับ 5 เมืองแคลกะรี (Calgary) รัฐแอลเบอร์ตา (Alberta) ประเทศแคนาดา

               แม้จะมีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแก๊สและน้ำมันจำนวนมากตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่ด้วยการวางผังเมืองและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ลดปริมาณมลพิษลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่อากาศดีที่สุดของโลก
calgary canada
calgary canada
นอก จากนี้ในเมืองยังมีแหล่งทิ้งขยะถึง 3 แห่ง เพื่อการคัดแยกขยะ โดยแยกขยะที่ย่อยสลายเองได้กับขยะที่รีไซเคิลได้ออกจากกัน เรียกว่าเอาจริงเอาจังกันสุดๆ!
calgary canada
calgary canada

อันดับ 4 เมืองเกรตฟอลส์ (Great Falls) รัฐมอนแทนา (Montana) สหรัฐอเมริกา

               เก รตฟอลส์ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับกิจกรรมกลาง แจ้งอย่างเช่นการเดินป่า แต่ใครจะรู้ว่า เมืองนี้เกือบหวิดกลายเป็นเมืองมลพิษสูงไปแล้วเมื่อมีแผนก่อสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมถ่านหินขนาดใหญ่ในเมือง แต่โชคดีที่ชาวเมืองแข็งขันร่วมใจกันประท้วงอย่างหนัก แผนก่อสร้างโรงงานจึงต้องยกเลิกไปในที่สุด…(เพราะอย่างนี้เขาถึงแซงหน้า ใครๆ จนกลายมาเป็นอันดับ 4 ได้ไงล่ะ!)
great falls montana
great falls montana
great falls montana
great falls montana
great falls montana
great falls montana

อันดับ 3 เมืองโฮโนลูลู (Honolulu) รัฐฮาวาย (Hawaii) สหรัฐอเมริกา

               Honolulu ในภาษาฮาวายแปลว่า อ่าวที่พักพิง และเมืองนี้ก็น่าอยู่น่าพักพิงสมชื่อจริงๆ เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนเกาะฮาวายซึ่งไกลจากแผ่นดินใหญ่ถึง 2,000 ไมล์ ดังนั้น มลพิษจากเมืองใหญ่ไม่ว่าจะเยอะสักแค่ไหนก็ข้ามไปไม่ถึง!
honolulu hawaii
honolulu hawaii
ที่ สำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้อากาศบริสุทธิ์ก็เพราะปริมาณฝนจำนวนมากที่ตกลงมาใน แต่ละปี และการออกแบบระบบขนส่งให้มีเลนสำหรับรถประจำทางโดยเฉพาะ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนและลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศอีกด้วย
honolulu hawaii
honolulu hawaii

อันดับ 2 เมืองแซนตาเฟ (Santa Fe) รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico) สหรัฐอเมริกา

               แซ นตาเฟเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในสหรัฐอเมริกาที่มีมลพิษในอากาศน้อยมากๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะที่ตั้งของเมืองซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่า และยังมีกฎหมายที่เข้มงวด ห้ามการเผาไม้ในที่โล่งแจ้งด้วย
santa fe new mexico
santa fe new mexico
นอกจาก อากาศดีแล้ว เมืองนี้ยังได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นสุดยอดเมืองสร้างสรรค์ทางด้าน ศิลปะและการออกแบบอีกด้วย…(น่าไปเที่ยวไหมล่ะ!)
santa fe new mexico
santa fe new mexico

อันดับ 1 เมืองไวต์ฮอร์ส (Whitehorse) เมืองหลวงของดินแดนยูคอน (Yukon) ประเทศแคนาดา

               ขี่ม้าขาวคะแนนนำมาฉลุยจนเทศมนตรีเมือง นายเบฟ บัคเวย์ (Bev Buckway) กล้าคุยให้อิจฉากันเล่นๆ ว่า “ก็ไม่รู้สินะ หลายคนที่มาที่นี่เป็นต้องร้องว้าว! อากาศดีมาก สุดยอดไปเลย!” แต่สำหรับตัวเขาเองและชาวเมืองกลับรู้สึกเฉยๆ เพราะ “เราสูดอากาศแบบนี้กันตลอดเวลา” …(แหม…น่าอิจฉาคนเมืองนี้จริงจริ๊ง!)
whitehorse canada
whitehorse canada
เหตุที่เมืองไวต์ฮอร์สมีอากาศบริสุทธิ์เป็นอันดับ 1 ของโลกนั้น นอกจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยตามธรรมชาติแล้ว คงเป็นเพราะความหนาแน่นของประชากรที่น้อยเอามากๆ แถมยังมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดเพื่อรักษาอากาศให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ
whitehorse canada
whitehorse canada
whitehorse canada
whitehorse canada
SkincareBlog_DifferentAge
                            วันนี้มีวิธีการดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัยให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลามาฝากกันค่ะ
ช่วงที่1 อายุ 0-6 ปี เริ่มจากหญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์และตรวจสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกได้รับการดูแลและคลอดอย่างปลอดภัย จากนั้นจนถึงอายุ 6 ปี  ทารกต้องได้รับวัคซีนพื้นฐานครบถ้วน และได้รับการตรวจทางด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ และพฤติกรรมต่างๆ
ช่วงที่ 2 อายุ 7- 18 สิ่งสำคัญคือการเตรียมตัวให้วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีอารมณ์ที่แจ่มใส มีภูมิคุ้มกันทางความคิด สามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ช่วงที่ 3 อายุ 19-60 วัยทำงานโดยวัยนี้มักเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน  เบาหวาน โรคจากบุหรี่ สุรา หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ปวดกล้ามเน้อ โรคเครียด เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
ช่วงที่ 4 อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป วัยนี้ถือเป็นวัยสูงอายุ นอกจากมีความเสื่อมถดถอยของร่างกายแล้ว บางรายยังมีโรคประจำตัวด้วย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรรับการตรวจรักษาสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั่วไป ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส

I like this song  
I love this song and i love her
I hope you like :)



Ce garçon très mignon 
😇
Thailand's western heart💖


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

virgin airline

Virgin America Safety Video ≧▽≦

i like this video




วัฒนธรรมที่แตกต่างของฝรั่งเศสกับไทย

31ธ.ค.
*เนื้อหาไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เป็นเพียงบุคคลเท่านั้น 
๑.คนฝรั่งเศส ชอบสั่งน้ำมูกเสียงดัง บางทีเจอชายหนุ่มหล๊อหล่อ… แต่ดันสั่งน้ำมูกเสียงดัง…โอเคเลย ยิ้มค้างแหละข้าพเจ้า
๒.เรื่องของตด… อันนี้คนใกล้ตัวเลย ทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ เวลาอยากจะตด ก็เรียกว่า ปล่อยกันอย่างเสรีเลยทีเดียว
๓.เรื่องของการล้างจาน… ที่บ้านมีเครื่องล้างจาน แต่ชอบวางจานที่ใช้แล้ว รอจนกว่าจะเต็มเครื่องแล้วถึงจะล้างทีเดียว ซึ่งบางทีก็กินเวลาไปสองวัน… บางบ้านกินเวลาไปวันที่สาม… เอ่อ… สองวันก็ว่าแย่แล้ว
๔.หากล้างจานเพียงไม่กี่ใบ… คนที่นี่จะใช้น้ำยาล้างจานแบบพิเศษ ที่จุ่มน้ำเดียวแล้วเอาขึ้นมาเช็ดให้แห้ง โดยที่ไม่ล้างน้ำทิ้งแบบบ้านเราจนสะอาดจนแน่ใจอะไรประมาณนั้น หรือเค้าประหยัดน้ำกันขนาดนั้นนะ
๕.เรื่องการอาบน้ำ… ที่นี่จะอาบเพียงครั้งเดียวต่อวัน และอาบแบบรวดเร็วมาก ไม่ถึงห้านาทีก็เสร็จแล้ว
๖.เรื่องเสื้อผ้า… จะใส่ซ้ำอยู่ สาม ครั้งกันเลยทีเดียว…
๗.เรื่องกิน เป็นอันรู้กันว่า วัฒนธรรมการกินของฝรั่งเศสนั้นเป็นสเต็บ จะเริ่มจากของเบาๆ ก่อน แล้วตามด้วยเมนูหนัก เช่น ถ้ามีหน่อไม้ฝรั่งต้ม สลัดผัก แกะอบ ขนมปัง ชีส ก็จะไล่กันมาเป็นสเต็บ จะกินทีละเมนู
๘.เห็นหลายบ้านที่มีตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ยิ่งกว่าร้านขายอาหารทะเล… แบบว่าอลังการสุดๆ สองตู้แช่ใหญ่ๆ สามตู้เย็นปกติ
รวมๆ แล้วก็ซัดไปสี่ห้าตู้กันเลยทีเดียว (ค่าไฟเท่าไหร่ไม่ต้องเดาให้ยาก) อาจเป็นว่า เก็บตุนเสบียงช่วงหน้าหนาว
๙.เรื่องประหยัด อันนี้เห็นทุกครัวเรือน ที่ต้องประหยัด หรือคนชาตินี้ ระมัดระวังเรื่องเงินกันทั้งประเทศก็ไม่รู้นะ ชาติอื่นเป็นหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เมืองไทยเรา ก็ไม่คิดว่าจะต้องประหยัดกันมากมายก่ายกอง เช่น
เวลาที่ต้องการซื้อของกิน ผลไม้ ผักสด บ้านเราก็ซื้อกินกันจุใจ กินไม่หมดก็ทิ้งบ้างสำหรับผัก แต่ที่นี่ เห็นชัดๆ ว่าระมัดระวังและบริการควบคุม เรื่องผัก ได้อย่างไม่มีเหลือทิ้ง
๑๐.เรื่องของการใช้รถยนต์ ที่นี่เห็นว่ารถคันเล็กแล้ว ก็ยังมีเล็กกว่าที่เห็นอีก เรียกว่าแข่งกันเล็กก็ว่าได้ ในขณะที่บ้านเรา แข่งกันขับรถคันใหญ่โตมโหฬาร
๑๑.เรื่องการบริการ…คนที่นี่จะบริการตัวเองเป็นหลัก เช่น เติมน้ำมัน หรือไปช็อปปิ้งก็จะต้องไปเก็บรถเข็นเข้าที่เข้าทางห้ามทิ้งเกะกะ หรือ การที่เราจะแหลมหน้าเข้าไปช่วยเหลือใครบางคน
ต้องถามเค้าก่อนว่า เขาต้องการหรือเปล่า เนื่องจากมันจะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่บ้านเราเป็นการแสดงความมีน้ำใจ
และเรื่องของการบริการ บ้านเรานี่บริการสุดใจขาดดิ้นกันเลยทีเดียว ที่ฝรั่งเศสนี่ยาก!!!!
๑๒.เรื่องเวลาเปิดปิดห้าง สรรพสินค้า ที่นี่เปิดกันแค่ สองสามทุ่มในเมืองใหญ่ๆ ปิดเสาร์อาทิตย์ อีกต่างหาก
หลายเดือนก่อน ที่ โอบาม่า และศรีภรรยามาปารีส…. และโอบาม่าได้เอาเรื่องที่เค้าไม่สามารถหาที่เดินช็อปปิ้งกับครอบครัวในวันอาทิตย์…เอามาล้อ ซาโกซี่ เป็นเรื่องขบขันไป
ว่าวันอาทิตย์ไม่สามารถช็อปปิ้งในฝรั่งเศสได้
ยิ่ง ตจว แบบบ้านฉันนี่คาร์ฟูร์ปิดตั้งแต่ หกโมงเย็นไม่รู้จะรีบกันไปใหน ช่วงกลางวันก็ปิดนะจ๊ะ ตั้งแต่เที่ยง ถึง บ่ายสองโมงครึ่งแน่ะ
ถ้าเป็นเทศกาลปีใหม่ ก็ดี หรือเทศกาลต่างๆ บ้านเราจะเปิดห้างกัน ยันเที่ยงคืน หรือหลังเที่ยงคืนด้วยซ้ำ แต่ที่นี่จะกลายเป็นเมืองร้าง…. ทันที ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง…
๑๓.เรื่องการอะลุ่มอล่วย… การที่เราจะมาเที่ยวต่างประเทศ ในฝรั่งเศสก็ดีหรือ ฝั่งยุโรปประเทศอื่น ต้องระมัดระวังเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวสูงมากๆ
เช่นการถ่ายรูป เคยดูรายการทีวีหนึ่ง คุณอี๊ด โปงลางสะออน ที่ไปเดินสายในต่างประเทศ จำไม่ได้ว่าประเทศใหน แต่เค้าไปถ่ายรูปเด็กน้อยน่ารัก ที่คุณแม่พามาเดินเล่นในสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง
แล้วโดนคุณแม่ท่านนั้นโทรแจ้งตำรวจจับ คุณอี๊ดเลยทีเดียว
การถ่ายรูปไม่ใช่ว่าจะยกกล้องขึ้นมาถ่ายตอนใหนก็ได้ ต้องดูตาม้าตาเรือนิดนึง ว่าควรจะต้องเลี่ยงๆ คนที่เค้าเดินผ่านไปมาสักหน่อย เพราะเค้าอาจหันกลับมาด่า
หรือ เดินมาแย่งกล้องถ่ายรูปของคุณไปลบภาพของเค้าออกกันเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็นคนไทยเราจะสนุกสนานเวลาถ่ายรูปแบบไม่ได้แคร์สื่อ แต่มาฝรั่งเศสนี่ไม่ได้นะจ๊ะ ควรระมัดระวังให้มากในเรื่องนี้ เพราะเคยมีกรณีนักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปวิว ที่มีคนในวิวด้วย และคนในวิวนั้นแจ้งความจับนักท่องเที่ยวท่านนั้นเลยทีเดียวเชียวแหละ
หรือบางที เห็นเด็กน่ารักๆ ลูกใครก็ไม่รู้ แล้วเข้าไปคุยด้วย ไปจับแก้มจับมือลูกเค้า.. หรือเห็นหมาเห็นแมวน่ารัก เข้าไปอุ้มไปกอด
ขอบอกว่าเป็นเรื่องที่เสียมารยาทมากๆ ในสายตาของคนที่นี่ เพราะเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าไปเจอคนที่เค้าเคร่งๆ เค้าจะด่าได้อย่างแสบสันต์ ถึงทรวงเลย

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 History of the New Year.

The meaning of New Year's Day.
The meaning of New Year's Day Issue Royal Tong dictionary Graduate network location. The meaning of the word "year" in the following year, meaning a circle around the Earth once the Sun around 365 days for 12 month calendar

Background.

New Year's Day with history, which vary according to age and fitness. Since the time when people first started Brbioeenei invention of the calendar. Through each stage of the moon as a basis for the count after 12 months was defined as a year to ensure a fit between the calendar year with the seasonal year. Has added months to 1 month to 13 months in all four years.

Later, Egyptians, Greeks and people c wikis. Calendar Brbioeenei led people to modify Again several times to meet the season even more until the reign of King Juliet Caesar brought the idea of an astronomer Egyptian name Yo Sin Ye Nis improve the year with 365 days every four years to fill. 28-day month with an additional 1 day to 29 days in February is called a leap.

The increase in February has 29 days in every four days in the calendar year, but still not match the season Neu. Time is longer than a calendar year, seasonal Cause before the season arrives in the calendar.

In calendar year on March 21 every year is a time during the day and night are equal. Is the day that the sun is directly east. And a secret down at the west precisely Today the world is a 12-hour period was the same night called on daytime Equality March (Equinox in March).

But in the Year 2125 date back to the Equinox in March occurred on March 11 instead of March 21, so Pope Gregory, 13, is adjusted to deduct 10 days from the day calendar. And the day after the date of October 4, 2125 instead of on October 5, then changed to October 15 instead (in 2125 this year), this new calendar is called. Erini as Gregorian calendar. Then adjusted promulgated on January 1 is the start date of the year onwards.

Background. Thai New Year's Day.
In the past, the traditional Thai New Year Day has been changed four times: first day of the waning fall at a lunar month, Ai is a New Year's Day. Meet in January to the No. 2 New Year's Day falls on the fifth lunar month as a motto Brahmin Which corresponds to April.
Date has been set up in 2 years this fall at a lunar core. Later equate solar instead. The set April 1 as New Year's Day from the year 2432 onwards, however, most people especially the rural areas is still taken as Songkran. New Year's Day address. Later, when a change of government is democracy. Government that New Year's Day on April 1 will be carnival Aamnsoog much. Deserve to be revived. Has announced a festive New Year's Day on 1 April 2477 in Bangkok for the first time.

Event New Year's Day began on April 1 to spread to other provinces in coming years, and in the year 2479 there has been a new year around the fairgrounds all provinces. New Year's Day on April 1 at that time the government called. Ernuษ Songkran Day.

Later, with the change of New Year's Day again. The Cabinet appointed by the Board of Directors. The discourse of the Royal Fine. As Chairman. The meeting agreed unanimously to change the New Year on January 1 by a given date is January 1, 2484 New Year's Day onwards.

Why the government has changed the New Year's Day from April 1 as the date is January 1.
1. Not inconsistent with Buddhism in the Date and Celebrate New Year with philanthropy
2. It brings out how a Brahmin came across the Buddhist doctrine.
3. The international level to use in countries around the world.
4. Is a refreshing culture, ideology and customs of the Thai nation.

Activities, most Thais will abide in the New Year's Day were.
1. To put merit. It may put at home. Or go to temples or places of the official invitation to merit.
2. Respectfully wishes from adults. And greeting friends. The gift. Delivering a bouquet of flowers. Or send a greeting card.
3. Fairgrounds. Catering among friends. Relatives or by other agencies.
New Year's Day is a great opportunity to allow us to review the life of the past. To a bug that happened in the past to better

Events on New Year's Day.
January 1 of each year will be put merit and dedication of those who passed away a charity sermon preached Fish released birds greeting each other. May send cards or greeting cards. Kua's big respect adults to get together. And bathing the Buddha is decorated with flags and prepare to clean house. And shelter.


ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย